สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 27 ก.ค.-2 ส.ค. 61



ข้าว
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การตลาด
มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปีการผลิต 2561/62
มติที่ประชุม คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2561 เห็นชอบในหลักการมาตรการฯ ด้านการผลิตและการตลาด ทั้งหมด 10 โครงการ ดังนี้
(1) ด้านการผลิต* ได้แก่ 1) โครงการส่งเสริมระบบการเกษตรแบบนาแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่) 2) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ 3) โครงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง 4) โครงการส่งเสริมระบบการเกษตรแบบแม่นยำสูง (Precision Farming) 5) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพชั้นเลิศ 6) โครงการส่งเสริมการผลิตและการตลาดข้าวพันธุ์ กข 43 เพื่อสุขภาพแบบครบวงจร และ 7) โครงการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตข้าวในพื้นที่ลุ่มต่ำ 13 ทุ่ง
(2) ด้านการตลาด มติที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2561 อนุมัติการดำเนินโครงการและวงเงินงบประมาณที่ใช้ช่วยเหลือเกษตรกรและรักษาเสถียรภาพราคาข้าว ปีการผลิต 2561/62 ด้านการตลาด จำนวน 3 โครงการ ได้แก่ 1) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปีและการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าว
2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร และ 3) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก
หมายเหตุ * ด้านการผลิต เป็นโครงการที่หน่วยงานดำเนินการตามปกติ จึงไม่นำเข้าที่ประชุม ครม.พิจารณามาตรการฯ
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 15,952 บาท ราคาลดลงจากตันละ 15,998 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.29
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 7,440 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 7,422 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.25
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 35,583 บาท ราคาลดลงจากตันละ 35,650 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.19
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 11,750 บาท ราคาเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 1,122 ดอลลาร์สหรัฐฯ (36,995 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 1,115 ดอลลาร์สหรัฐฯ (36,924 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.63 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 71 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 399 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,156 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 396 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,114 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.76 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 42 บาท
ข้าวขาว 25% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 390 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,859 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 387 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,816 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.77 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 43 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 396 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,057 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 393 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,015 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.76 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 42 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 33.9722
 
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
          อินเดีย
          ภาวะราคาข้าวในสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับขึ้นเล็กน้อยเนื่องจากเริ่มมีความต้องการข้าวจากต่างประเทศ หลังจากช่วงก่อนหน้านี้ราคาได้ปรับลดลงต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 20 เมษายน 2560 ซึ่งการที่ราคาปรับลดลงทำให้ในช่วงนี้ผู้ซื้อ
จากแอฟริกาเริ่มหันมาสั่งซื้อข้าวมากขึ้น ทั้งนี้ราคาข้าวนึ่ง 5% อยู่ที่ตันละ 389-393 ดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 3 ดอลลาร์สหรัฐฯ จากตันละ 386-390 ดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วงสัปดาห์ก่อนหน้า
          มีรายงานว่า หลังจากหน่วยงานของทางการจีนได้ส่งคณะเดินทางเข้ามาตรวจโรงสีข้าวที่แปรรูปข้าวขาวที่ไม่ใช่
บาสมาติ เมื่อช่วงต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมานั้น ปรากฏว่าทางการจีนได้ตกลงให้โรงสีข้าวจำนวน 14 แห่ง จาก 19 แห่งที่ผ่านการตรวจสอบสามารถส่งออกข้าวไปประเทศจีนได้ และล่าสุดได้อนุญาตเพิ่มอีก 5 รายที่ผ่านการตรวจ นอกจากนี้ยังมีโรงสีอีก 4 ราย ที่ไม่ผ่านการตรวจต้องไปปรับปรุงระบบการเก็บสินค้า และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ให้เรียบร้อยก่อน
          เมื่อช่วงต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ของจีนได้เดินทางไปตรวจโรงสีข้าวที่แปรรูปข้าวขาวที่ไม่ใช่
บาสมาติของอินเดียแล้ว หลังจากรัฐบาลของทั้งสองประเทศได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (memorandum of understanding; MoU) เกี่ยวกับการส่งออกข้าวขาวที่ไม่ใช่บาสมาติจากอินเดียไปจีน เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา
ซึ่งสาระสำคัญของ MoU คือภายใต้พิธีสารปี 2549 เรื่องข้อกำหนดด้านสุขอนามัยพืชเพื่อการส่งออกข้าวจากอินเดีย
ไปยังประเทศจีนได้รับการแก้ไขเพื่อให้ครอบคลุมถึงการส่งออกข้าวขาวที่ไม่ใช่ข้าวบาสมาติด้วย
          กระทรวงเกษตร (the Indian Agriculture Ministry) รายงานว่า การเพาะปลูกข้าวในฤดูการผลิต Kharif (มิถุนายน-ธันวาคม) ของปีการผลิต 2561/62 ณ วันที่ 26 กรกฎาคม 2561 มีการเพาะปลูกแล้วประมาณ 123.52 ล้านไร่ลดลงร้อยละ 12 เมื่อเทียบกับจำนวน 141 ล้านไร่ ในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ขณะที่สถานการณ์ฝนที่ตกลงมาหลังจากเริ่มเข้าสู่ฤดูมรสุมนั้น กรมอุตุนิยมวิทยา (the Indian Meteorological Department; IMD) รายงานว่า วันที่ 30 กรกฎาคม 2561 ที่ผ่านมา อินเดียมีปริมาณฝนตกต่ำกว่าระดับปกติประมาณร้อยละ 6 โดยฝนที่ตกบริเวณภาคกลางและคาบสมุทรทางภาคใต้ของประเทศมีปริมาณสูงกว่าค่าปกติประมาณร้อยละ 6 และร้อยละ 2 ตามลำดับ ส่วนในภาคตะวันตกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนตกในระดับต่ำกว่าค่าปกติประมาณร้อยละ 1 และร้อยละ 28
ตามลำดับ ทั้งนี้ฤดูมรสุมของอินเดียจะอยู่ในช่วงระหว่างวันที่ 1 มิถุนายนถึง 30 กันยายน ซึ่งฝนที่ตกในช่วงเวลานี้จำเป็นต่อการเพาะปลูกพืชของอินเดียในฤดูการผลิต Kharif  อย่างไรก็ตาม ในส่วนของปริมาณน้ำที่กักเก็บไว้ในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศ 91 แห่ง ณ วันที่ 26 กรกฎาคม 2561 มีปริมาณ 66.34 พันล้านลูกบาศก์เมตร มากกว่าช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ที่มีประมาณ 58.86 พันล้านลูกบาศก์เมตร
          ทางด้านกระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (USDA) คาดการณ์ว่าในปีการตลาด 2561/62 (ตุลาคม-กันยายน) อินเดียจะมีผลผลิตข้าวสารประมาณ 109 ล้านตัน ลดลงจากจำนวน 110 ล้านตัน ในปี 2560/61 เนื่องจากคาดว่า การเพาะปลูก
ฤดูหลัก (kharif rice) ในปี 2561/62 จะมีผลผลิตลดลง เนื่องจากขณะนี้การเพาะปลูกข้าวในฤดูนี้ล่าช้ากว่ากำหนด
เพราะได้รับปริมาณฝนต่ำกว่าเกณฑ์ ซึ่งคาดว่าในช่วงปลายเดือนนี้ภาวะฝนจะกลับเข้าสู่สถานการณ์ปกติ และคาดว่า
การเพาะปลูกข้าวบาสมาติเมล็ดยาวในแคว้น Punjab, Haryana และ western Uttar Pradesh รวมทั้ง Andhra Pradesh และ Tamil Nadu จะดำเนินต่อไปจนถึงปลายเดือนสิงหาคมและต้นเดือนกันยายนนี้
          มีรายงานว่า จากการที่รัฐบาลได้เพิ่มราคารับซื้อขั้นต่ำ (MSP) ในการซื้อข้าวเปลือกฤดูกาลใหม่ขึ้น 13%
เพื่อเอาใจเกษตรกรก่อนมีการเลือกตั้งทั่วไปในปีหน้า ซึ่งรัฐบาลภายใต้นายกรัฐมนตรี Narendra Modi ได้กล่าวในการประกาศงบประมาณของรัฐบาลในเดือนกุมภาพันธ์ 2561 ที่ผ่านมาว่า จะรับซื้อผลผลิตการเกษตรในราคา 1.5 เท่าของค่าใช้จ่ายในการผลิต ซึ่งถือเป็นการเปลี่ยนแปลงราคารับซื้อขั้นต่ำครั้งใหญ่ในรอบ 3 ปี
          ทางด้านนักวิเคราะห์และนักเศรษฐศาสตร์ เตือนว่าการตัดสินใจนี้อาจทำให้เงินเฟ้อและการขาดดุลสูงขึ้น ทั้งยังกระตุ้นให้ธนาคารทุนสำรองอินเดียเพิ่มอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นอีกด้วย โดยนาย Indranil Pan นักเศรษฐศาสตร์จาก ICRA Ltd มุมไบ แสดงความคิดเห็นว่า ตอนนี้ยังเร็วเกินไปที่จะประเมินผลของราคารับซื้อขั้นต่ำต่ออัตราเงินเฟ้อ ควรรอจนถึงเดือนตุลาคมหรือพฤศจิกายน 2561 ก่อน ซึ่งการประกาศเพิ่มราคารับซื้อขั้นต่ำไม่น่าจะมีผลต่อการทำหน้าที่ของธนาคารกลางของอินเดีย (RBI)  และแนะนำว่าธนาคารกลางของอินเดียควรขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนสิงหาคมและตุลาคม 2561 เพื่อรองรับอัตราเงินเฟ้อและราคาน้ำมันสูง
          นาย Foram Parekh นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานจาก Indiabulls Ventures ที่เมืองมุมไบ แสดงความคิดเห็นว่าการเพิ่มราคานี้เป็นไปตามความคาดหวัง หากตลาดเพิ่มราคามากกว่าราคา MSP ก็อาจจะนำไปสู่เงินเฟ้อได้
หากเกษตรกรได้รับผลประโยชน์จากการเพิ่มขึ้นของ MSP ภาคอุตสาหกรรมรถยนต์และสถาบันการเงินชั้นนำของอินเดียก็จะได้รับผลประโยชน์จากรายได้ของภาคชนบทที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน ทั้งนี้รัฐบาลได้ทบทวนราคา MSP ในระยะหลายปีที่ผ่านมา แต่คิดว่าราคายังไม่ได้ถูกนำไปปรับใช้กับเกษตรกรอย่างจริงจัง จึงต้องรอดูกันต่อไป และคาดว่าน่าจะรู้กันว่าเกษตรกรจะได้รับการปรับใช้ราคาใหม่หรือไม่ในเดือนตุลาคม 2561 นี้ พร้อมยังกล่าวเสริมว่าเนื่องจากราคา MSP ที่สูงขึ้น รัฐบาลต้องรับภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นประมาณ 330 พันล้านรูปี (ประมาณ 4.81 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ซึ่งคิดเป็นประมาณ
0.2-0.3% ของ GDP เป็นจำนวนที่น้อยมากและไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวม แต่จะได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นมากกว่า
          นาย Aditi Nayar หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จาก ICRA Ltd มุมไบ กล่าวว่าหากยังไม่มีความแน่ชัดว่า รัฐบาลจะรับซื้อผลผลิตมากกว่านี้หรือเกษตรกรจะได้รับราคา MSP ใหม่หรือไม่ ก็เป็นเรื่องยากที่จะประเมินผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากราคาใหม่นี้ได้ ส่วนนาง Upasna Bhardwaj นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสจาก Kotak Mahindra Bank มุมไบ กล่าวว่าราคาขายส่งในปัจจุบันส่วนใหญ่สูงกว่าราคารับซื้อขั้นต่ำ ณ จุดนี้เป็นเรื่องยากที่จะวัดผลกระทบต่อเงินเฟ้อ การปรับราคารับซื้อขั้นต่ำนี้เป็นเรื่องจำเป็น แต่ต้องทำให้ถูกต้องเพื่อให้มั่นใจว่าเกษตรกรจะได้รับสิ่งที่พวกเขาควรได้
          นาย Tirthankar Patnaik ผู้เชี่ยวชาญด้านยุทธศาสตร์อินเดียจาก Mizuho Bank มุมไบ แสดงความ คิดเห็นว่า ราคาข้าวเปลือก 200 รูปีต่อ 100 กิโลกรัม มีความสมเหตุสมผลจึงไม่น่าจะส่งผลเสียต่อตลาด หากราคาสูงกว่า 200 รูปี
อาจจะส่งผลกระทบ ซึ่งราคารับซื้อขั้นต่ำที่เพิ่มขึ้นนั้นจะทำให้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานสูงขึ้น 25 basis point ซึ่งรัฐบาล
น่าจะพึงพอใจ และไม่คิดว่าราคานี้จะส่งผลเสียมากนัก ขณะที่นาง Shubhada Rao หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จาก Yes Bank มุมไบ กล่าวว่าราคา MSP ใหม่สูงขึ้น 25% เมื่อเทียบกับเพียง 2-3% ในช่วงสามปีที่ผ่านมา น่าจะส่งผลกระทบจากทำให้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานสูงขึ้น 35 basis point ซึ่งเป็นไปตามที่คาดหวัง และไม่น่าจะทำให้ธนาคารทุนสำรองอินเดีย
มีความกังวลมากนัก
          ด้านนาย A Prasanna หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จาก ICICI Securities Primary Dealership Ltd มุมไบ แสดงความคิดเห็นว่าราคารับซื้อขั้นต่ำที่ประกาศใหม่นี้ ทำให้ราคาผลผลิตสูงขึ้นมาก คาดการณ์ว่าราคารับซื้อธัญพืช
ในปีงบประมาณ 2562 อาจจะสูงถึงเกือบ 25% เทียบเท่ากับการเพิ่มขึ้นในห้าปีที่ผ่านมารวมกัน หากคิดตามดัชนีราคาผู้บริโภคแล้ว การเพิ่มขึ้นนี้คิดเป็น 90 basis points ดังนั้น คาดว่าอัตราเงินเฟ้อน่าจะเพิ่มขึ้นประมาณ 50 basis points และยังคาดว่าคณะกรรมการนโยบายการเงินจะใส่ใจต่อความเสี่ยงที่เกิดจาก MSP ที่สูงขึ้น ค่าใช้จ่ายด้านการเงินและผลกระทบระลอกที่สอง ประกอบกับราคาน้ำมันสูง และค่าเงินรูปีอ่อนค่าตั้งแต่นโยบายเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา
การพัฒนาครั้งนี้จึงน่าจะทำให้มีการปรับราคาเพิ่มอีกครั้งในเดือนตุลาคม 2561
          ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย


ราคาที่เกษตรกรขายได้ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% และราคาขายส่งตลาด กทม. ข้าวสารเจ้า 5%

 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้

ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.59 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 6.68 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.35 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.30 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 5.43 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.39
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ8.83 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.90 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.79 และราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.13 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.16 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.37
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 279 ดอลลาร์สหรัฐ (9,199 บาท/ตัน) สำหรับสัปดาห์ก่อนไม่มีรายงานราคา
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนกันยายน 2561 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 366.60 เซนต์ (4,821 บาท/ตัน) เพิ่มขึ้นจากบุชเชลละ 357.00 เซนต์ (4,715 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.69 และเพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 106 บาท


 


มันสำปะหลัง
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2561 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2560 – กันยายน 2561) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 7.87 ล้านไร่ ผลผลิต 27.24 ล้านตัน ผลผลลิตต่อไร่ 3.46 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2560
ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.71 ล้านไร่ ผลผลิต 30.50 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.50 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ ลดลงร้อยละ 9.64, 10.69 และ 1.14 ตามลำดับ โดยเดือนสิงหาคม 2561 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 1.18 ล้านตัน (ร้อยละ 4.35 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2561 ออกสู่ตลาดแล้ว (เดือนตุลาคม 2560 – กรกฎาคม 2561) ปริมาณ 24.93 ล้านตัน (ร้อยละ 91.52 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงปลายฤดูการเก็บเกี่ยว หัวมันสำปะหลังออกสู่ตลาดน้อยไม่เพียงพอต่อความต้องการของโรงแป้งและลานมัน ทั้งนี้ลานมันส่วนใหญ่หยุดดำเนินการผลิตเพราะฝนตก ส่วนโรงงานแป้งมันสำปะหลังส่วนใหญ่หยุดเพื่อซ่อมแซมเครื่องจักร
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.47 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 2.34 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 5.56  
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.09 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 5.70 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 10.70   
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.23 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.22 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 0.14  
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 15.15 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 15.35 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 1.30  
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 233 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือตันละ 7,683 บาท
ราคาลดลงจากตันละ 238 ดอลลาร์สหรัฐฯ ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 2.10 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 199 บาท
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 485 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือตันละ 15,992 บาท
ราคาทรงตัวในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 69 บาท

 
 


ปาล์มน้ำมัน
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2561 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนกรกฎาคมจะมีประมาณ 1.121
ล้านตันคิด เป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.191 ล้านตัน ลดลงจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.281 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.218 ล้านตัน ของเดือนมิถุนายน 2561 คิดเป็นร้อยละ 12.49  และร้อยละ 12.39 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 3.24 บาท ลดลงจาก กก.ละ 3.62 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 10.50                                              
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 20.33 บาท ลดลงจาก กก.ละ 20.95 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.96  
 
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาน้ำมันปาล์มของมาเลเซียมีแนวโน้มลดลงมากที่สุดในรอบ 3 สัปดาห์
ราคาน้ำมันปาล์มดิบซื้อขายล่วงหน้าตลาดมาเลเซียส่งมอบในเดือนตุลาคม 2561 ปรับตัวลดลงอยู่ที่ 2,191  ริงกิตต่อตัน (537.80 ดอลลาร์สหรัฐฯ) ลดลงร้อยละ 1.0 ซึ่งลดลงมากที่สุดในรอบ 3 สัปดาห์ เนื่องจากราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันพืชถั่วเหลืองอ่อนตัวลงส่งผลกระทบต่อราคาน้ำมันปาล์มดิบและความต้องการซื้อน้ำมันปาล์มดิบ อย่างไรก็ตาม เงินริงกิตของมาเลเซียอ่อนค่าลง คาดว่าจะส่งผลให้ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดมาเลเซียปรับตัวสูงขึ้นและการส่งออกน้ำมันปาล์มดิบเพิ่มขึ้น
ราคาในตลาดต่างประเทศ  
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 2,129.05 ดอลลาร์มาเลเซีย  (17.66 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 2,133.36 ดอลลาร์มาเลเซีย  (17.79 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.20               
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 573.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ  (19.14 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 574.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ  (19.26 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.17 
           
หมายเหตุ  :  ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 3 วัน

 
 


อ้อยและน้ำตาล 
1. สรุปภาวะการผลิต  การตลาดและราคาในประเทศ
รายงานการผลิตน้ำตาลทรายของโรงงานน้ำตาลทั่วประเทศ
          ศูนย์บริหารการผลิต สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายได้รายงานการเก็บเกี่ยวอ้อยและ     การผลิตน้ำตาลทรายของโรงงานน้ำตาลทั่วประเทศประจำปีการผลิต 2560/2561 (ฉบับปิดหีบ) มีอ้อยเก็บเกี่ยวเข้าโรงงานน้ำตาลจำนวน 134.93 ล้านตัน ผลิตเป็นน้ำตาลได้ 14.71 ล้านตัน แยกเป็นน้ำตาลทรายดิบ 10.59 ล้านตัน และน้ำตาลทรายขาว 4.12 ล้านตัน ค่าความหวานของอ้อยเฉลี่ย 12.48 ซี.ซี.เอส. ผลผลิตน้ำตาลทรายเฉลี่ยต่อตันอ้อย 109.03 กก.ต่อตันอ้อย
                               
2. สรุปภาวการณ์ผลิตการตลาดและราคาในต่างประเทศ



ถั่วเหลือง
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งกากถั่วเหลืองใน สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
         
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเท (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 883.60 เซนต์ (10.84 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากบุชเชลละ 855.40 เซนต์ (10.54 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.30
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 335.42 ดอลลาร์สหรัฐฯ (11.20 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ 329.28 ดอลลาร์สหรัฐฯ (11.05 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.86
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 28.43 เซนต์ (20.93 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากปอนด์ละ 28.20 เซนต์ (20.85 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.82


 


ยางพารา
 
ราคายางแผ่นดิบคุณภาพ 3 ตลาดกลางหาดใหญ่ สัปดาห์นี้ 43.04 บาท/กิโลกรัม\

1. ราคายางพาราภายในประเทศ
1.1  ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ 
1) ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 42.33 บาท เพิ่มขึ้นจาก 42.18 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.15 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.36 
2) ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 2 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.83 บาท เพิ่มขึ้นจาก 41.68 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.15 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.36
3) ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.33 บาท เพิ่มขึ้นจาก 41.18 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.15 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.36
4) ยางก้อนคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 19.44 บาท เพิ่มขึ้นจาก 19.23 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.21 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.09
5) เศษยางคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 17.01 บาท เพิ่มขึ้นจาก 16.70 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.31 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.86
6) น้ำยางสดคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 37.32 บาท ลดลงจาก 38.39 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 1.07 บาท หรือลดลงร้อยละ 2.79
1.2 ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. ซื้อขายล่วงหน้าส่งมอบเดือนสิงหาคม 
ณ ท่าเรือกรุงเทพ
1)  ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 49.92 บาท ลดลงจาก 50.67 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.75 บาท หรือลดลงร้อยละ 1.49
2)  ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.77 บาท ลดลงจาก 49.52 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.75 บาท หรือลดลงร้อยละ 1.52
3) ยางแท่ง (STR20) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.43 บาท ลดลงจาก 44.60 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.17 บาท หรือลดลงร้อยละ 0.37
4) น้ำยางข้น ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.88 บาท ลดลงจาก 35.06 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.18 บาท หรือลดลงร้อยละ 0.50
ท่าเรือสงขลา 
1)  ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 49.67 บาท ลดลงจาก 50.42 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.75 บาท หรือลดลงร้อยละ 1.49
2)  ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.52 บาท ลดลงจาก 49.27 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.75 บาท หรือลดลงร้อยละ 1.53
3) ยางแท่ง (STR20) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.18 บาท ลดลงจาก 44.35 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.17 บาท หรือลดลงร้อยละ 0.38
4) น้ำยางข้น ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.63 บาท ลดลงจาก 34.81 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.18 บาท หรือลดลงร้อยละ 0.51
 
2.  ราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 ในตลาดล่วงหน้าต่างประเทศ  
2.1 ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดสิงคโปร์ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 145.34 เซนต์สหรัฐฯ (47.95 บาท) เพิ่มขึ้นจาก 144.28 เซนต์สหรัฐฯ (47.78 บาท) ของสัปดาห์ที่ผ่านมากิโลกรัมละ 1.06 เซนต์สหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.73
2.2 ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดโตเกียว เฉลี่ยกิโลกรัมละ 163.82 เยน (48.17 บาท) เพิ่มขึ้นจาก 162.72 เยน (48.01 บาท) ของสัปดาห์ที่ผ่านมากิโลกรัมละ 1.10 เยน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.68

 
 

 
สับปะรด
 
 
 

 
ถั่วเขียว
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 17.00 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 12.33 บาท ลดลงจากราคากิโลกรัมละ 13.00 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.15
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี        
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 813.67 ดอลลาร์สหรัฐ (26.83 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 813.80 ดอลลาร์สหรัฐ (26.95 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.02 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.12 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 722.67 ดอลลาร์สหรัฐ (23.83 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 722.40 ดอลลาร์สหรัฐ (23.92 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.04 แต่ลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.09 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 571.00 ดอลลาร์สหรัฐ (18.83 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 570.80 ดอลลาร์สหรัฐ (18.90 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.04 แต่ลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.07 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 398.67 ดอลลาร์สหรัฐ (13.14 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 419.00 ดอลลาร์สหรัฐ (13.88 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.85 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.74 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 807.67 ดอลลาร์สหรัฐ (26.63 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 807.60 ดอลลาร์สหรัฐ (26.37 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.01 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.26 บาท


 


ถั่วลิสง
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด  สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 24.81 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 25.91 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 4.25
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
 
 


ฝ้าย
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้
ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนตุลาคม 2561 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 89.56 เซนต์
(กิโลกรัมละ 65.95 บาท) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 88.07 เซนต์ (กิโลกรัมละ 65.13 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.69และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 0.82 บาท
 
 

 
ไหม
 
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,664 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,634 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา  ร้อยละ 1.84
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,250 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,088 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,147 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา    ร้อยละ 5.14

 
 

 
ปศุสัตว์

สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ  
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากในช่วงนี้มีฝนตกในหลายพื้นที่ การซื้อขายไม่คล่องตัว อีกทั้งมีอาหารและสัตว์น้ำตามธรรมชาติออกสู่ตลาด  ส่งผลให้ราคาสุกรที่เกษตรกรขายได้ยังคงอ่อนตัวลงเล็กน้อย แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  57.34 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 57.72 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.66 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 57.12 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 54.10 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 58.48 บาท  และภาคใต้ กิโลกรัมละ 57.76 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 1,600 บาท (บวกลบ 58 บาท) ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 61.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 59.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 3.36
 
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไก่เนื้อสัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการบริโภคเริ่มมีมากขึ้น ส่งผลให้ภาวะตลาดไก่เนื้อเริ่มคึกคัก  แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 34.41 บาท  สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 33.88 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.56 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท  ภาคกลาง กิโลกรัมละ 33.93 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 38.60 บาท  และภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 10.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา   
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.50 บาท  และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 47.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณผลผลิตไข่ไก่ออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการบริโภค แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ  280 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 292 บาท  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 278 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 278 บาท  และภาคใต้ไม่มีรายงาน  ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ  18.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
าคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 311 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 330 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 364 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 338 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 302 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ  330 บาท

ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ

ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 340 บาท  ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 90.23 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 89.86 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.41 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 91.24 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 84.31 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ  92.79 บาท และภาคใต้

กิโลกรัมละ 100.29 บาท 

กระบือ

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
 
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 71.04 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 69.75 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.85 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 91.23 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 67.14 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
 

 
 


 
ประมง

1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศการผลิต
เปลี่ยนถ่ายกระชังลูกใหม่หรือเพิ่มออกซิเจนในน้ำนช่วงดังกล่าวเป็นช่วงที่น้ำตาย โดยเฉพาะในช่วงกลางคืนบวกกับออกซิเจนในน้ำค่อนในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 27 กรกฎาคม – 2 สิงหาคม 2561) ไม่มีรายงานปริมาณ
จากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.03 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 41.20 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.17 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.31 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 89.64 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.67 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (70 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 154.68 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 158.28 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.60 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (70 ตัว/กก.) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 153.00 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 152.50  บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.50 บาท
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.58 บาท   ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 80.78 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.20 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.00 บาท           ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 170.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 200.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.40 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 27 ก.ค. – 2 ส.ค. 2561) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา